จากปากหมอในพื้นที่ เฝ้าระวัง 70 คนงาน เสี่ยงรับผลกระทบซีเซียม-137 ยังไม่พบการปนเปื้อนในร่างกาย

 จากปากหมอในพื้นที่ เฝ้าระวัง 70 คนงาน เสี่ยงรับผลกระทบซีเซียม-137  ยังไม่พบการปนเปื้อนในร่างกาย


       ซีเซียม-137 สารอันตรายที่หายไปจากโรงไฟฟ้าอย่างน่าสงสัยที่ จ.ปราจีนบุรี มีการสืบตามหาจนพบว่าได้ถูกหลอมละลายไปแล้วเป็นจำนวนบางส่วน เบื้องต้นสาธารณสุขในพื้นที่ได้ตรวจสอบสารกัมมันตรังสีจากคนงาน 70 คน ในโรงงานหลอมเหล็ก อ.กบินทร์บุรี ยังไม่พบสารปนเปื้อน และได้เตรียมมาตรการรองรับในโรงพยาบาลจำนวน 2 แห่ง เผื่อมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

       ซีเซียม-137 สารอันตรายที่หายจากโรงไฟฟ้า ที่จ.ปราจีนบุรี มีการสืบหาจนพบว่าได้ถูกหลอมไปแล้วบางส่วน เบื้องต้นสาธารณสุขในพื้นที่ได้ตรวจสอบสารกัมมันตรังสีจากคนงาน 70 คน ในโรงงานหลอมเหล็ก อ.กบินทร์บุรี ยังไม่พบสารปนเปื้อน และได้เตรียมพร้อมมีมาตรการรองรับเหตุการณ์ในโรงพยาบาลจำนวน 2 แห่ง หากมีประชาชนได้รับผลกระทบ จากปากหมอในพื้นที่ เฝ้าระวัง 70 คนงาน เสี่ยงรับผลกระทบซีเซียม-137 นพ.สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ได้มีการเปิดเผยกับทีมข่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการปนเปื้อนของซีเซียม-137 ภายในโรงงานหลอมเหล็ก พบว่า มีการจัดการรูปแบบระบบปิด จึงยังไม่มีผลทำให้เกิดการฟุ้งกระจายไปในอากาศ โดยฝุ่นที่ปนเปื้อนซีเซียม-137 มีความหนัก เมื่อหลอมแล้วจะหล่นลงมาในถุงบิ๊กแบ็กทั้ง 24 ถุง ขณะนี้ได้กันพื้นที่ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปภายใน มีการวัดค่ารังสีภายในรอบโรงงานทั้งในน้ำและอากาศ เป็นรัศมี 5 กิโลเมตร ไม่พบการปนเปื้อน เบื้องต้นทางสาธารณสุขได้เข้าไปตรวจสอบสารปนเปื้อนในพนักงานโรงงานหลอมเหล็กทั้งหมด 70 คน โดยใช้เครื่องตรวจสารกัมมันตรังสีตามเสื้อผ้าและร่างกาย ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ ส่วนผลตรวจเม็ดเลือดขาวพนักงาน 70 คน ไม่พบสารปนเปื้อน ประกอบกับพนักงานส่วนใหญ่อยู่ในแคมป์คนงานของบริษัท แต่มีพนักงาน 5 คน ที่ออกไปติดต่อกับบุคคลภายนอก จึงยังวางใจได้ว่ามีโอกาสน้อยที่มีการแพร่รังสีไปภายนอกมาตรการเฝ้าระวังพนักงานทั้ง 70 คน จะมีการตรวจเม็ดเลือดขาวอีกครั้ง ในวันที่ 5 เมษายนนี้ ในระยะยาวมีการเฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพของพนักงานทั้งหมด โดยเฉพาะความผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ด้านพื้นที่ 2 กิโลเมตร รอบโรงงาน ไม่มีชุมชนใดตั้งอยู่ ส่วนชุมชนที่อยู่ถัดไปยังไม่ได้รับผลกระทบจากซีเซียม ทางสาธารณสุขได้ส่งทีมงานไปให้ข้อมูลเพื่อให้ชาวบ้านทำความเข้าใจและให้คำปรึกษา เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเกิดความกังวลใจ ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในการทำงานกับชุมชน เพราะถ้ามีการไปตรวจหาอย่างละเอียดในทุกคนอาจทำให้ชาวบ้านเกิดความเครียดเป็นเพราะจากการตรวจสอบสารปนเปื้อนตามหลักวิทยาศาสตร์ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงการแพร่กระจายออกมาจากพื้นที่ปิดของโรงงานหน่วยบริการสาธารณสุขมีการกำชับเฝ้าระวังหากพบชาวบ้านมีแผลบนผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน ต้องมีการตรวจหาสารปนเปื้อนอย่างละเอียด แต่สิ่งที่มีความกังวลคือ อาการในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อความผิดปกติในระบบเม็ดเลือดขาว ผู้ที่ได้รับการปนเปื้อน ซึ่งอาการผิดปกติชาวบ้านทั่วไปจะสังเกตได้ยาก “ซีเซียม-137 เมื่อถูกหลอมจะกลายเป็นฝุ่นเหล็ก ตกลงสู่พื้นหรือภาชนะ เมื่อโรงงานทำการหลอมในระบบปิด จึงมีโอกาสน้อยที่จะฟุ้งกระจาย จนส่งผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้นมาตรการด้านสาธารณสุขเบื้องต้น ต้องเฝ้าระวังคนงานที่ทำงานใกล้ชิดทั้ง 70 คนก่อน แต่ยังไม่ต้องถึงขนาดที่จะต้องทำการกักตัว ซึ่งประชาชนภายนอกยังไม่ต้องมีความวิตกกังวล เพราะขนาดคนงานที่กินนอนอยู่ในโรงงาน เบื้องต้นตรวจสารเคมีตกค้างอย่างละเอียดแล้วยังไม่พบการปนเปื้อนในร่างกาย” ขณะนี้มีการกำชับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หากพบคนที่ได้รับสารปนเปื้อน ทีมแพทย์ต้องสวมชุด PPE ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ถ้ามีอาการไม่ร้ายแรงจะทำการส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลกบินทร์บุรี ถ้าหากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจะส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และประสานกับโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีความเชี่ยวชาญ หากพบคนที่มีความผิดปกติร้ายแรงเกินกว่าโรงพยาบาลในพื้นที่จะทำการรักษาได้.



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาราสาว ดิว อริสรา เปิดใจ

ปีนี้อากาศร้อนสุดๆ ในรอบ 8 ปี สัญญาณภัยแล้งกำลังมาเยือนเตรียมตัวเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ

หนุ่มฝันประหลาดเหมือนเดิม 3 ครั้ง ตามไปเจอ "หินนาคราช" คาดเป็นสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมของเขมรโบราณ